งานกลุ่มที่ 2

มวยไทยท้องถิ่น

....รัชสมัยกรุงธนบุรี ต่อเนื่องถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ชนชาวสยาม เป็นปึกแผ่น รวมเขตแดน รวมแผ่นดินได้มากแล้ว แต่ยังไม่ว่างเว้น จากศึกสงครามใหญ่น้อย ภัยรอบบ้าน เรื่องการฝึกปรือ กลมวย เพลงดาบ จึงนับได้ว่าเป็นศิลปะประจำชาติที่สำคัญ ซึ่งคนไทยโดยทั่วไป ใส่ใจ และให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว จึงได้เกิด สำนักมวย สำนักดาบ ขึ้น แม้แต่ในพระมหาราชวัง ก็ยังมีการเรียนการสอน กระบี่กระบอง วิชามวย และพิชัยสงคราม อันเป็นหลักสูตรสำคัญ โดยเฉพาะมวยไทย ที่มีรูปแบบการใช้อวัยวะเป็นอาวุธ ทั้ง หมัด เท้า เข่า ศอก คล้ายคลึงกันทั่วประเทศ แต่ถึงกระนั้น ด้วยความเป็นชนชาติอิสระ และมีภูมิปัญญา วิชามวย ก็ได้แตกแขนง แบ่งกลุ่ม แบ่งภาค กันออกไปอย่างเด่นชัด ทั้งท่ารำร่ายไหว้ครู รูปแบบลีลาท่าย่าง ท่าครู แม่ไม้ ลูกไม้ อีกทั้งความชำนาญเรื่อง การจัก สาน ร้อย ทำให้การคาดเชือก ถักหมัด มีรูปแบบเฉพาะตัวอีกมากมาย โดยหลักใหญ่แบ่งได้ตามภูมิภาค คือ
         ภาคเหนือ มวยท่าเสา มวยเม็งราย มวยเจิง ฯลฯ มวยท่าเสา เป็นมวยเชิงเตะ คล่องแคล่ว ว่องไว ทั้งซ้ายขวา จนได้ฉายา มวยตีนลิง คาดเชือกประมาณครึ่งแขน
        ภาคอีสาน มวยโคราช มวยหลุม ฯลฯ มวยโคราช ลักษณะการ เตะ ต่อย เป็นวงกว้าง นิยม คาดเชือก ขมวดรอบแขนจนจรดข้อศอก เพื่อใช้รับการเตะ ที่หนักหน่วงรุนแรง
       ภาคกลาง มวยลพบุรี มวยพระนคร ฯลฯ มวยลพบุรี ลักษณะการชก ต่อย วงใน เข้าออกรวดเร็ว เน้นหมัดตรง การคาดเชือก จึงคาดเพียงประมาณครึ่งแขน
      ภาคใต้ มวยไชยา ฯลฯ มวยไชยา ลักษณะการรุก-รับ รัดกุม ถนัดการใช้ศอกในระยะประชิดตัว การคาดเชือกจึงนิยมคาดเพียง คลุมรอบข้อมือ เพื่อกันการซ้น หรือเคล็ด เท่านั้น
.          ประวัติมวยดัง ภาค เริ่มจากภาคเหนือ "มวยท่าเสา" สร้างชื่อยุคกรุงธนบุรี นับแต่พระยาพิชัยดาบหักจัดแข่งขันชกมวยเสมอๆ บนสังเวียนลานดิน ชื่อเสียงดีก็มีมีนายเมฆบ้านท่าเสา นายเที่ยงบ้านเก่ง นายแห้วแขวงเมืองตาก นายนิลทุ่งยั้ง นายถึกศิษย์ครูนิล ถึง พ.ศ.2472 นายแพ เลี้ยงประเสริฐ จากบ้านท่าเสา อุตรดิตถ์ ชกนายเจีย แขกเขมรตายด้วยหมัดคาดเชือก ทำให้รัฐบาล (สมัยรัชกาลที่ 7) มีคำสั่งให้การชกมวยไทยทั่วประเทศเปลี่ยนจากคาดเชือกเป็นสวมนวม

มวยท่าเสา

มวยท่าเสา(มวยไทยภาคเหนือ)
มวยท่าเสา

มวยไทยท่าเสา เป็นสายมวยไทยภาคเหนือ ที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าสายมวยไทยท่าเสากำเนิดขึ้นเมื่อใดใครเป็นครูมวยคนแรกแต่จากหลักฐานที่ปรากฏอยู่ทำให้ทราบว่าครูมวยไทยสายท่าเสาที่มีชื่อเสียงโด่งดังคนหนึ่งคือ ครูเมฆที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในเรื่องความคล่องแคล่วว่องไว รวดเร็ว เด็ดขาด มีลีลาท่าทางสวยงามและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้เตะ ถีบ และศอก เป็นที่ลือกระฉ่อนจนนายทองดี เองถึงกับปฎิญาณกับตัวเองว่าจะต้องมาขอเรียนศิลปะมวยไทยกับสำนักท่าเสาให้ได้ และก็ได้มาเป็นลูกศิษย์ของครูเมฆผู้ประสิทธิประสาทวิชามวยไทยให้แก่ นายทองดี ซึ่งได้นำความรู้ที่ได้รับไปผสมผสานกับมวยจีนอีกต่อหนึ่ง

เมื่อนายทองดีได้เป็นเจ้าเมืองพระยาพิชัย ก็ได้มาคารวะครูเมฆและแต่งตั้งให้ครูเมฆเป็นกำนันปกครองตำบลท่าอิฐต่อไป ครูเมฆได้ถ่ายทอดวิชาให้แก่ผู้สืบสกุลต่อมาจนถึงครูเอี่ยม ครูเอี่ยมถ่ายทอดแก่ผู้สืบสกุลคือครูเอม ครูเอมถ่ายทอดแก่ผู้สืบสกุลคือครูอัด คงเกตุ ซึ่งเมื่อครูอัด คงเกตุ และลูกศิษย์มาชกมวยในกรุงเทพฯ ก่อนสงครามโลก ครั้งที่ ได้ใช้ซื่อค่ายมวยว่า เลือดคนดง ครูเอมยังได้ถ่ายทอดวิชามวยไทยให้แก่หลานตาอีก 5คน รุ่นราวคราวเดียวกับครูอัด ทั้ง 5คน เป็นนักมวยตระกูล เลี้ยงเชื้อ ซึ่งต่อมา กรมหลวงชุมพร ฯ ได้เปลี่ยนให้เป็น เลี้ยงประเสริฐ เป็นบุตรนายสอน นางขำ (ลูกครูเอม) สมพงษ์ แจ้งเร็ว เขียนกล่าวว่า ทั้ง คน เป็นยอด
มวยเชิงเตะ มีกลเม็ดเด็ดพรายแพรวพราวทุกกระบวนท่าที่ได้สืบทอดมาจากสำนักท่าเสาของครูเมฆจนมีชื่อเสียงลือลั่นในช่วงเวลานั้น ทั้ง 5คน ได้แก่

1. ครูโต๊ะ เกิดประมาณ พ.ศ.2440 เป็นบุตรคนที่ ของนายสอนและนางขำ เป็นนักมวยที่มีอาวุธหนักหน่วงและเชิงเตะ เข่า และหมัดรวดเร็ว
2. ครูโพล้ง เกิดปี พ.ศ.2444 มีอาวุธมวยไทยรอบตัว โดยเฉพาะลูกเตะที่ว่องไว และรุนแรง และความสามารถในการถีบอย่างยอดเยี่ยม จนได้รับฉายาว่า มวยตีนลิง ครูโพล้งมีเอกลักษณ์การไหว้ครูร่ายรำตามแบบฉบับของสำนักท่าเสา ในจำนวน คน ครูโพล้ง มีฝีมือยอดเยี่ยมที่สุด เมื่อมาชกกรุงเทพ ฯ เคยชนะ นายสร่าง ลพบุรี และครูบัว วัดอิ่ม เคยชนะนายสิงห์วัน ประตูเมืองเชียงใหม่ ที่เชียงใหม่ และนายผัน เสือลาย ที่โคราช แต่เคยพลาดท่าแพ้ นายสุวรรณนิวาสวัด ที่กรุงเทพ ฯ ครั้งหนึ่ง เพราะโดนจับขาเอาศอกถองโคนขาจนกล้ามเนื้อพลิก
3. ครูฤทธิ์ เกิดปี พ.ศ.2446 มีฝีมือไม่ยิ่งหย่อนกว่าพี่น้องทั้งหลาย เคยชกชนะหลายครั้งที่กรุงเทพ ฯ และเคยชกเสมอ บังสะเล็บ ครูมวยคณะศรไขว้ (ลูกศิษย์ครูแสง อุตรดิตถ์ ผู้สืบทอดสายมวยพระยาพิชัยดาบหัก)
4. ครูแพ เกิดปี พ.ศ.2447 เป็นนักมวยเลื่องชื่อระดับครูโพล้ง เคยปราบ บังสะเล็บ ศรไขว้ ชนิดที่คู่ต่อสู้บอบช้ำมากที่สุด และชก นายเจียร์ พระตะบอง นักมวยแขกครัวเขมร ถึงแก่ความตายด้วยไม้หนุมานถวายแหวน ทางราชการจึงกำหนดให้มีการสวมนวมแทนคาดเชือก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
5. ครูพลอย เกิดปี พ.ศ.2450 เป็นมวยที่คล่องแคล่วว่องไวในเชิงเตะ ถีบ และหมัด เนื่องจาก ครูโพล้ง เป็นผู้ถ่ายทอดเชิงชกให้ด้วย ครูพลอยถึงถอดแบบการใช้เท้าจากครูโพล้ง ครูพลอยเคยมาชกชนะในกรุงเทพ ฯ หลายครั้งแต่ก็ได้ถึงแก่กรรมเมื่ออายุเพียง 24 ปีเท่านั้น

นอกจากครูโพล้งและพี่น้องได้ร่วมกันสอนเชิงมวยให้แก่ลูกศิษย์หลายคนที่มีชื่อเสียงแล้วยังมีศิษย์สำนักท่าเสาอีกหลายคนคือ นายประพันธ์ เลี้ยงประเสริฐ นายเต่า คำฮ่อ (เชียงใหม่) นายศรี ชัยมงคล ผู้เป็นเพื่อนสนิทของครูพลอยและเป็นผู้ที่ ผล พระประแดง ยอมรับว่าเจ็บตัวมากที่สุดเมื่อได้ชกแพ้ นายศรี อย่างสะบักสะบอม ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นในชีวิตการต่อสู้เลย เพราะนายศรี มีอาวุธหนักหน่วงเกือบทุกอย่างและรวดเร็ว อีกทั้งยังมีเชิงมวยสูงมากด้วย

ครูมวยจากสายท่าเสาทั้ง ได้จากไปหมดแล้ว โดยครูพลอย ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังหนุ่ม หลังจากนั้นก็ตามด้วย ครูฤทธิ์ สำหรับครูโต๊ะก่อนถึงแก่กรรมได้บวชจนได้เป็นเจ้าอาวาสวัด คุ้งตะเภา ครูแพ ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.2520 และครูโพล้ง ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.2522 มีอายุได้78 ปี ก่อนถึงแก่กรรม คณะกรรมการจัดงานพระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งจัดให้มีการแข่งขันชกมวยประจำปี จะเชิญ ครูโพล้ง ขึ้นไปไหว้ครูร่ายรำตามแบบฉบับของสำนักมวยท่าเสาให้คนชมทุกปี หลังจากการจากไปของครูโพล้ง มวยไทยสายท่าเสา ได้ลดบทบาทลงไปอย่างมาก ยิ่งครูมวยใน

ปัจจุบันสอนมวยตามแบบฉบับของสายมวยอื่น ๆ มวยไทยสายครูเมฆ แห่งสำนักท่าเสาก็ยิ่งถูกลืมเลือนไป แม้แต่ชาวอุตรดิตถ์เองปัจจุบันยังไม่สามารถทราบหรือบอกความแตกต่างของมวยท่าเสากับมวยสายอื่น ๆ ได้เลย

เอกลักษณ์ของมวยสายท่าเสา (มวยไทยภาคเหนือ)

เอกลักษณ์ของมวยสายท่าเสา การไหว้ครูจะไหว้พระแม่ธรณีก่อนทำพิธีไหว้ครู การไหว้ครูมวยท่าเสาจะไหว้บรมครูก่อนคือ พระอิศวร เพราะถือว่าพระอิศวรเป็นผู้ประสิทธิประสาทวิชาการต่อสู้แบบฉบับมวยท่าเสา การกราบพระรัตนตรัย จะกราบในทิศหรดี(ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ซึ่งเป็นทิศที่ผีฟ้าไม่ข้าม การนับหน้าไหว้ครูไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นไปตามประเพณีของพราหมณ์ ในการเห็นหน้าโบราณสถาน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สอดคล้องกับความเชื่อว่าบรมครูของมวยท่าเสามีพระอิศวรและทิศตะวันออกเป็นทิศที่พระอาทิตย์ส่องแสงมาสู่โลก และมวลมนุษย์เป็นสัญญาลักษณ์ของวันใหม่และจุดเริ่มต้นที่เป็นมงคล หรือนักมวยก่อนกราบจะหันหน้าเข้าหาดนตรี ปี่ กลอง เพราะถือว่า ดนตรี ปี่ กลอง ได้ไหว้ครูหรือพระอิศวรแล้ว การจดมวยของมวยท่าเสามือซ้ายนำและสูงกว่ามือขวา เมื่อเปลี่ยนเหลี่ยมมือขวานำและสูงกว่ามือซ้าย เมื่อตั้งมวยได้ถูกต้องและย่างแปดทิศได้คล่องแคล่วว่องไวแล้ว

นักมวยจะต้องฝึกท่ามือสี่ทิศพร้อม ๆ กัน กับการจดมวยและย่างแปดทิศ ท่ามือต้องออกด้วยสัญชาตญาณเพื่อให้เกิดการ “หลบหลีก ปัด ป้อง ปิด” ในการป้องกันตัว การคาดเชือกสายมวยท่าเสาต้องเอาเชือกด้านตราสังผีมาลงคาถาอาคมแล้วบิดให้เขม็งเกลียง

หลังจากนั้นเอามาขดก้นหอย ขด แล้วเอาด้ายตราสังมาเคียนทำเป็นวง วง รองข้างล่างก้นหอยอีกทีหนึ่ง เพื่อสวมเป็นสนับมือ เมื่อสวมนิ้วมือแล้วก็เอาด้ายตราสังมาเคียนทับอีกทีหนึ่ง จากนั้นเชือกที่คาดจะต้องลงรักและคลุกน้ำมันยาง จากนั้นก็คลุกแก้วบดอีกทีหนึ่งเป็นอันเสร็จพิธีคาดเชือก นักมวยสายท่าเสาจะต้องเสกพริกไทย เม็ด กินทุกวันเพื่อให้อยู่ยงคงกะพันและเสกคาถากระทู้ แบกประจำทิศบูรพา คือ อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา 15 จบ ก่อนขึ้นชกต้องเสกหมากหรือว่านเคี้ยวกินด้วยคาถาฝนแสนห่า ประจำทิศอาคเนย์ จบ คือ ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง ครูอาจเสกแป้งประหน้านักมวยก่อนชกด้วยนะจังงัง มวยท่าเสาอาจจะสูญสิ้นไปหากไม่มีการอนุรักษ์ สืบสาน 
ตำนานมวย “ลาวแกมไทย ตีนไวเหมือนหมา” เอาไว้ ลาวแกม หมายถึงคนเมืองอุตรดิตถ์ ซึ่งมีคนเมือง คนไทยภาคกลาง และคนลาวอยู่ร่วมกัน โดยคนเมืองอยู่เหนือแม่น้ำน่าน คนไทยอยู่ใต้แม่น้ำ และคนลาวอยู่ทางตะวันออก จึงมีการผสมผสานวัฒนธรรม ประเพณี และภาษาเข้าด้วยกัน ทั้งยังมีการแต่งงานระหว่างกันด้วย ทำให้คนอุตรดิตถ์มีลักษณะ “ลาวแกมไทย” (สมพร แสงชัยและคณะ, 2545)
      

มวยโคราช

มวยโคราช (มวยไทยภาคอีสาน)
มวยโคราช
มวยไทยโคราช เป็นการต่อสู้แบบมือเปล่าที่พันด้วยเชือกหรือด้ายดิบของชนชาติไทยในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 – 6 มวยไทยโคราช เป็นมวยที่มีมาในประวัติศาสตร์ไทยมาช้านานเป็นศิลปะมวยไทยที่มีชื่อเสียงตลอดมาเท่ากับมวยลพบุรี มวยอุตรดิตถ์ มวยไชยา ซึ่งมีนักมวยจากหัวเมืองคือเมืองโคราชได้สร้างชื่อเสียง

จากการไปแข่งขันชกมวยในพระนครโดยชกชนะนักมวยภาคอื่น ๆ นับไม่ถ้วน ซึ่งล้วนแต่มีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น โดยเริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย์  พ.ศ.2411 พระองค์ทรงโปรดกีฬามวยไทยมาก  การฝึกหัดมวยไทยแพร่หลายไปตามหัวเมืองต่างๆ ทั่วประเทศทรงจัดให้ทีการแข่งขันชกมวยหน้าพระที่นั่งในงานศพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์อุรุพงษ์รัชสมโภช ในวันที่ 18 – 21 มีนาคม ร.ศ.128 (พ.ศ.2452) ณ ทุ่งพระรุเมรุ นักมวยที่เจ้าเมืองต่าง ๆ นำมาแข่งขันล้วนแต่คัดเลือกคนที่มีฝีมือดีจากทั่วประเทศ การแข่งขันครั้งนี้ได้นักมวยที่สามารถชกชนะคู่ต่อสู้หลายคนเป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระองค์ และโปรดเกล้า ฯ พระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ให้กับนักมวยมณฑลนครราชสีมาเมืองโคราชเป็นขุนหมื่นครูมวย คือ หมื่นชงัดเชิงชก ถือศักดินา 300คือ นายแดง ไทยประเสริฐ ลูกศิษย์คุณพระเหมสมาหารเจ้าเมืองโคราช มีชื่อเสียงในการใช้หมัดเหวี่ยงควาย

อีกทั้งยังมีนักมวยโคราชที่มีความสามารถจนได้เป็นครูสอนพลศึกษา ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนถึงเกษียณอายุราชการ รวมเวลาถึง 28 ปี คือ ครูบัว นิลอาชา (วัดอิ่ม) และยังมีมวยโคราชที่มีฝีมือดี เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ถึงกับเป็นครูสอนมวยไทยให้กับ
นักมวยจากเมืองโคราชที่วังเปรมประชากร เช่น นายทับ จำเกาะ นายยัง หาญทะเล นายตู้ ไทยประเสริฐ นายพูน ศักดา เป็นต้น

มวยโคราชคาดเชือกยุคฟื้นฟูอนุรักษ์ สมัยรัชกาล ถึงปัจจุบัน ไม่มีการฝึกซ้อมที่เมืองโคราช แต่ยังมีลูกศิษย์ครูบัว วัดอิ่ม (นิลอาชา) คือ พันเอกกำนาจ พุกศรีสุข ทำการถ่ายทอดมวยโคราชคาดเชือกให้กับผู้ที่สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสาน อยู่ที่ สยามยุทธ์ กรุงเทพ ฯ ทุกวัน ครูเช้า วาทโยธา ที่ยังอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอด มวยโคราช ให้กับลูกศิษย์ และผู้ที่สนใจเป็นประจำที่โรงเรียนบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น พร้อมทั้งเปิดสอนในวิชาเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ปีละ 450 คน

เอกลักษณ์มวยไทยโคราช 

เอกลักษณ์มวยไทยโคราช พบว่า สวมกางเกงขาสั้น ไม่สวมเสื้อ สวมมงคลที่ศีรษะขณะชก การพันหมัดแบบคาดเชือก ตั้งแต่หมัดขึ้นไปจรดข้อศอก เพราะมวยโคราช เป็นมวยต่อยวงกว้าง และใช้หมัดเหวี่ยงควาย การพันเชือกเช่นนี้ เพื่อป้องกันการเตะ ต่อยได้ดี การฝึกฝึกจากครูมวย

ในหมู่บ้าน ต่อจากนั้นจึงได้รับการฝึกจากครูมวยในเมือง ขั้นตอนการฝึกโดยใช้ธรรมชาติ เมื่อเกิดความคล่องแคล่วแล้วทำพิธียกครู แล้วให้ย่างสามขุมและฝึกท่าอยู่กับที่ ท่า ท่าเคลื่อนที่ ท่า ฝึกลูกไม้แก้ทางมวย 11 ท่า ฝึกท่าแม่ไม้สำคัญ ประกอบด้วย ท่าแม่ไม้ครู ท่า และท่าแม่ไม้สำคัญ โบราณ 21 ท่า แล้วมีโคลงมวยเป็นคติสอนนักมวยด้วย พร้อมคำแนะนำ เตือนสติไม่ให้เกรงกลัวคู่ต่อสู้ (เช้า วาทโยธา, 2550)



มวยลพบุรี

มวยลพบุรี (มวยไทยภาคกลาง)
มวยลพบุรี

มวยลพบุรี มีวิวัฒนาการและเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทำให้มวยลพบุรีแบ่งช่วงเวลาต่าง ๆ ตามความสำคัญเป็น ช่วง คือ ช่วงที่ อยู่ระหว่างปีพุทธศักราช 1200 ถึง 2198 นับเป็นช่วงเริ่มต้นของมวยลพบุรี มีปรมาจารย์สุกะทันตะฤาษี เป็นผู้ก่อตั้งสำนักขึ้นที่ เขาสมอคอน เมืองลพบุรี มีลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ช่วงที่ อยู่ระหว่างปีพุทธศักราช 2199 ถึง 2410 ถือเป็นช่วงสืบทอดของมวยลพบุรี ในสมัยนี้ สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช พระมหากษัตริย์ ที่ส่งเสริมมวยลพบุรี อย่างกว้างขวาง มีการจัดการแข่งขันโดยกำหนดขอบสังเวียนและมีกติกาการแข่งขัน

โดยมีพระพุทธเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์ อีกพระองค์หนึ่งที่สนับสนุน
มวยไทยและชอบชกมวยและมักปลอมพระองค์ไปชกมวยกับชาวบ้านอยู่เป็นประจำ ช่วงที่ อยู่ระหว่างปีพุทธศักราช 2411 ถึง 2487 เป็นช่วงพัฒนาของมวยลพบุรี ช่วงนี้มวยลพบุรี โด่งดังมากและเฟื่องฟูจนถึงขีดสุด โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ พระองค์เรียนวิชามวยไทยจากปรมาจารย์หลวงมลโยธานุโยค

เอกลักษณ์ของมวยลพบุรี

เอกลักษณ์ของมวยลพบุรี เป็นมวยที่ชกฉลาด รุกรับคล่องแคล่วว่องไว ต่อยหมัดตรงได้แม่นยำ เรียนลักษณะการต่อยมวยแบบนี้ว่า 
มวยเกี้ยว ซึ่งหมายถึง มวยที่ใช้ชั้นเชิงเข้าทำคู่ต่อสู้ โดยใช้กลลวงมากมายจะเคลื่อนตัวอยู่เสมอ หลอกล่อหลบลีกได้ดี สายตาดี รุกรับและออกอาวุธ หมัด เท้า เข่า ศอก ได้อย่างรวดเร็ว สมกับฉายา ฉลาดลพบุรี เอกลักษณ์ที่เห็นชัดเจนอีกประการหนึ่งก็คือ มีการพันมือครึ่งแขน แต่ที่เด่นและแปลกกว่ามวยสายอื่น ๆ ก็คือ การพันคาดทับข้อเท้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมวยลพบุรี (ชนทัต มงคลศิลป์, 2550)


มวยไชยา

มวยไชยา (มวยไทยภาคใต้) 
มวยไชยา

มวยไชยา เป็นมวยไทยโบราณของภูมิปัญญาไทย บรรพบุรุษไทย กษัตริย์ไทยที่สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน เพื่อสืบสานต่อไปในอนาคตที่ยั่งยืน มวยไชยาสามารถแบ่งออกเป็น ยุค คือ ยุคเริ่มต้น กำเนิดขึ้นจากพ่อท่านมา หรือหลวงพ่อมาอดีตนายทหารจากพระนครสมัยรัชกาลที่ ฝึกมวยให้กับชาวเมืองไชยา ยุคเฟื่องฟูในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช จากนั้นได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ แก่นักมวยจากเมืองไชยา คือ นายปรง เป็นหมื่นมวยมีชื่อ ตำแหน่งกรรมการพิเศษ เมืองไชยา ถือศักดินา 300 ยุคเปลี่ยนแปลงในช่วงรัชสมัยพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ เกิดขึ้นเพราะต้องรื้อเวที และพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) เจ้าอาวาสเจ้าอาวาสวัดไชยามรณภาพลง

มวยไทยไชยาจึงสิ้นสุดลงด้วยยุคอนุรักษ์หลังจากสิ้นสุดสมัยพระครูโสภณเจตสิการาม(เอี่ยม) มวยไทยไชยาเริ่มเลือนหายไปจากความทรงจำของชาวไชยา อย่างไรก็ตามยังมีผู้ที่เคยเรียนมวยไทยไชยา แล้วนำมาสืบทอดต่ออีกหลายท่าน เช่น ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย นายทองหล่อ ยา และนายอมรกฤต ประมวล นายกฤษดา สดประเสริฐ นายอเล็กซ์ สุย และพันเอก อำนาจ พุกศรีสุข เป็นต้น

นักมวยที่มีชื่อเป็นที่รู้จักได้แก่ หมื่นมวยมีชื่อ นายปล่อง จำนงทอง ผู้มีท่าเสือลากหางเป็นอาวุธสำคัญการต่อสู้เน้นวงในใช้ความคมของศอก เข่า ประวัติมวยไชยาสืบค้นได้ถึง พระยาจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) เจ้าเมืองไชยา ในสมัยรัชกาลที่ ถ่ายทอดมายังบุตรชายคือ ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย ซึ่งภายหลังย้ายมาตั้งรกรากที่กรุงเทพ ฯ เผยแพร่มวยไชยาแก่ศิษย์มากมายจนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2521

เอกลักษณ์ของมวยไชยา

เอกลักษณ์ของมวยไชยา พบว่ามีอยู่ ด้าน คือ การตั้งท่ามวยหรือการจดมวย ท่าครูหรือ ท่าย่างสามขุม การไหว้ครูร่ายรำ การพันมือแบบคาดเชือก การแต่งกาย การฝึกซ้อมมวยไชยาและแม่ไม้มวยไชยา กระบวนท่ามวยไชยามีทั้งหมด ชุด คือ แม่ไม้มวยไทยไชยา ท่า ได้แก่ ปั้นหมัด พันแขน พันหมัด กระโดดตบศอก พันหมัดพลิกเหลี่ยม เต้นแร้งเต้นกา ย่างสามขุม ท่าที่สำคัญคือท่า เสือลากหาง เคล็ดมวยไชยาที่ใช้ป้องกันได้ดีที่สุดคือ ป้อง ปัด ปิด เปิด (จัตุชัย จำปาหอม, 2550)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น